เมื่อวันที่ 23 กัีนยายนที่ผ่านมา ตอนที่นำเสนอไอเดีย "ถนนสายภูมิปัีญญา" ที่สยามดิสคัฟเวอร์รี่นั้น ผู้เข้าชมงานหลายท่านเข้ามาถามว่าอะไรเป็นแรงบันดาลใจของไอเดียนี้ ก่อนหน้านี้ก็คาดว่าจะต้องเจอคำถามแบบนี้ แต่คำถามนี้ก็ยังคงเป็นคำถามที่ยากสำหรับผม ที่จะใช้เวลาช่วงสั้น ๆ อธิบายแีรงบันดาลใจผ่านประโยคสั้น ๆ แทนสิ่งที่ผมอยากจะพูดทั้งหมด วันนี้ผมเลยมานั่งคิดหาวิธีที่จะอธิบายให้ชาวบ้านเข้าใจได้โดยพูดให้น้อยที่สุด หวังว่าเจ้าของคำถามเหล่านั้นจะได้เข้ามาอ่าน blog นี้ของผมนะครับ
แรงบันดาลใจหรือที่มาของ"ถนนสายภูมิปัญญา"นี้ เกิดจากการปะติดปะต่อสิ่งที่ผมพบเจอในชีวิตประจำวัน ทั้งสิ่งที่ดีๆ และสิ่งที่เป็นปัญหา และพยายามนำสิ่งที่ดีมาใช้ประโยชน์ และหาหนทางแก้ไขสภาพปัญหา มันก็เป็นสิ่งที่เราพบเจออยู่ทุกวันในชีวิตประจำวันนี่แหละครับ ถ้าผู้อ่านของผมดูรูปข้างบนก็คงจะเข้าใจได้ทันที
สิ่งที่หลายท่านอาจยังไม่รู้วันแรกได้มีโอกาสถ่ายรูปกับคุณสาทิต วงศ์หนองเตยด้วย บังเอิญบ้านเราอยู่ใกล้กันครับ ๕๕๕ |
ผมรู้สึกสนุกมากกับการที่ได้เข้าร่วมโครงการนี้ มันเหมือนกับการปลุกความคิดสร้างสรรค์ที่มีในตัวเองขึ้นมาอีกครั้ง หลังจากที่ทำหล่นหายไปตั้งแต่เมื่อไหร่ไม่รู้ และทำให้รู้ว่าเออนะจริง ๆ แล้วมันก็ยังอยู่กับเราเสมอเพียงแต่เราลืมที่จะหยิบมันมาใช้เท่านั้นเอง ผมเชื่อว่าผู้ร่วมเสนอไอเดียในโครงการนี้หลายท่านคงมีความรู้สึกเช่นเดียวกัน อีกอย่างหนึ่งคือผมมีความสุขที่ตัวเองได้ทำตัวเองเป็นประโยชน์ต่อสังคม ที่ผ่านมาผมพยายามหาช่องทางที่จะทำตัวให้เกิดประโยชน์ต่อคนอื่นเสมอ ไม่ว่าจะเป็นกิจกรรมด้านสิ่งแวดล้อมที่ทำในรั้วมหาวิทยาลัย หรือการขึ้นดอยไปเป็นครูอาสาสมัครสอนเด็กชาวเขา แม้หลังๆ มันโครงการนี้มันจะค่อนข้างจะเป็นการท่องเที่ยวไปหน่อยก็ตาม
สำหรับโครงการไอเดียประเทศไทยนี้ก็เช่นกัน ผมเสนอไอเดียไปทั้งหมด 11 ไอเดีย ในขณะที่พี่สาวเสนอไป 13 ไอเดีย ไอเดียของพี่สาวผมได้เข้ารอบ 50 ไิอเดียสุดท้าย 2 ไอเดียคือ "โรงพยาบาลของรัฐ ขึ้นบัตรออนไลน์" และ "นั่งแท็กซี่ปลอดภัย...ไอทีช่วยได้" แต่ไอเดียของผมไม่ได้เข้ารอบเลยแม้แต่ไอเดียเดียวในตอนแรก แอบเซ็งเล็กน้อยครับ เพราะไอเดียที่ผมคาดหวังและตั้งใจมากที่สุดอย่าง "ถนนสายภูมิปัญญา" นี่ก็ไม่ได้รับการคัดเลือกในตอนแรกกับเค้าด้วย ไม่ได้อยู่แม้แต่ในบัญชีสำรอง ตอนนั้นก็ช่วยพี่สาวเตรียมตัวนำผลงานทั้งสองชิ้นไปนำเสนอในงานไอเดียเฟสติวัล เพราะเค้ากำลังยุ่งอยู่กับ dissertation ปริญญาเอกที่ใกล้จะถึงกำหนดส่ง สองสามวันต่อมาเจ้าหน้าที่โครงการโทรศัพท์มาหาบอกว่า "ถนนสายภูมิปัญญา" นี้ก็ได้เข้ารอบกับเค้าเหมือนกัน สงสัยเจ้าของไอเดียหลายคนคงไม่สามารถมาร่วมในงาน ไอเดียเฟสติวัลได้ ถนนสายภูมิปัญญา่เลยได้เข้ารอบกับเค้าด้วยเว้ยเฮ้ย
คาดคะเนสาเหตุ
ผมคิดว่าปัจจุบันประเทศไทยเรากำลังพัฒนา ถีบตัวเองอยู่ ความสนใจของผู้คนจึงยังคงอยู่ที่แนวทางในการแก้ปัญหาปากท้อง ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน รวมไปถึงปัญหาสิ่งแวดล้อมที่ใกล้ตัวเราเข้ามาทุกขณะ เรื่องศิลปะวัฒนธรรมนี่ยังคงต้องใช้เวลาอีกสักระยะ รอให้ท้องของผู้คนเริ่มอิ่มก่อนแล้วจึงจะมองเรื่องการเสพสุนทรียรส ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเลยคือระยะเวลาที่เราต้องต่อสู้เพื่้อให้เกิดหอศิลป์กรุงเทพฯ ที่ตั้งในใจกลางย่านธุรกิจ ผมมองว่ามันเป็นการต่อสู้เพื่อให้ศิลปะเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตของคนกรุงเทพฯ และเป็นการต่อสู้กับกระแสทุนนิยมเพื่อช่วงชิงพื้นที่เล็ก ๆ ตรงสี่แยกปทุมวันไปใช้ก่อสร้างสิ่งปลูกสร้างที่ให้ผลในเชิงพาณิชย์ ผมนั่งรถเมล์ผ่านพื้นที่ ๆ เคยเป็นสวนสาธารณะเล็ก ๆ ตรงนั้นทุกวัน แรก ๆ ก็สนุกกับการจิตนาการว่าพื้นที่นั้นสมควรเป็นอะไร พอนาน ๆ เข้าก็ชักขี้เกียจคิดจนเรียนจบ ทำงาน เรียนจบอีกรอบ กลับมาเมืองไทยจึงได้เห็นหอศิลป์ตัวเป็น ๆ กับเค้าเสียทีหลังจากที่คอยส่องดูหอศิลป์จากบนท้องฟ้าผ่าน Google Earth อยู่หลายครั้ง แม้ว่าจำนวนคนที่เข้าไปเดินในหอศิลป์จะเทีี่ยบกันไม่ไ้ด้เลยกับจำนวนผู้คนที่เดินในสยามพารากอน ห้องเช่าหลายห้องในห้องศิลป์ยังร้างไร้คนจับจองพื้นที่เพื่อแสดงผลงานของตน แต่ผมก็ยังมีความสุขที่ได้เห็น คนที่ต้องการเสพย์ศิลปะ ได้มีโอกาสเสพย์ สิ่งที่เค้าต้องการ คนที่ต้องการพื้นที่แสดงผลงาน ได้มีพื้นที่ให้แสดงผลงาน
ทุกคนกำลังมองหาอะไรใหม่ ๆ จากโครงการนี้ แต่ทำไมถึงจับประเด็นด้านมรดกทางภูมิปัญญาซึ่งเป็นเรื่องเก่าทั้งนั้น
ผมว่าคำว่า "นวัตกรรม" มันก็มีทั้งสิ่งที่เป็นรูปธรรมและนามธรรม แต่เราอาจจะสบายใจ หรือมองหาแต่นวัตกรรมที่สามารถจับต้องได้มากกว่า"นวัตกรรมทางความคิด"ซึ่งเป็นเรื่องของกระบวนความคิดใหม่ ๆ เพื่อนำมาใช้ในการคิดหาแนวทางใหม่ ๆ ในการแก้ปัญหา จริง ๆ แล้วภูมิปัญญามันก็คือนวัตกรรม เพียงแต่เมื่อเวลาผ่านไปนาน ๆ เข้า คนเราก็ลืมเลือนไป และมันก็จะค่อย ๆ จางหายไป เหมือนกับซาวน์อเบ้าท์ ที่ปัจจุบันนี้กลายเป็นอะไรก็ไม่รู้ ทั้ง ๆ ที่เมื่อสิบกว่าปีก่อนใคร ๆ ก็ไขว่คว้าหามาครอบครอง
ภูมิปัญญาไทยมันก็มีทั้งในส่วนที่เป็นเรื่องของการประดิษฐ์คิดค้นที่เกิดจากทักษะของผู้คน หรือเป็นแนวทาง แนวปฏิบัติที่อาจจะจับต้องไม่ได้ แต่รับรู้ได้ เช่นขนบประเพณีต่าง ๆ การลงแขกเกี่ยวข้าว การเต้นกำรำเคียว เป็นต้น ไอเดีย"ถนนสายภูมิปัญญา" นี้เป็นนวัตกรรมทางความคิดที่พยายามเสนอแนวทางใหม่ ๆ ในการรื้อฟื้น และอนุรักษ์ภูมิปัญญาเก่า(หรือนวัตกรรมที่ถูกลืมเลือน)เพื่อให้เป็นรากฐานในการพัฒนานวัตกรรมใหม่ ๆ ที่เหมาะสมกับเมืองไทยของเรา
ผมยกตัวอย่างผลิตภัณฑ์ "ดินเผาทรงเครื่องเบญจศิริ" (ตั้งชื่อได้อลังการดีแฮะ) เป็นนวัตกรรมที่ต่อยอดมาจากเครื่องดินเผาสามโคก ของชาวมอญ อ.สามโคก จ.ปทุมธานี ผู้ที่คิดเริ่มต้นจากภูมิปัญญาโบราณของท้องถิ่น และจา่กการเห็นการทำ "โอ่งเพ้นท์สี" และ "เครื่องเบญจรงค์" แต่ปัญหาคือชาวบ้านไม่มีทักษะในด้านการเพ้นท์เครื่องเบญจรงค์ เค้าก็เลยแก้ปัญหาด้วยการไปหาซื้อผ้่าไหมจากที่อื่น ๆ มาซึ่งก็สวยไม่แพ้กัน แล้วมาห่อเครื่องปั้นดินเผา จากเครื่องปั้นดินเผาธรรมดา ๆ ที่แค่ใช้ใส่น้ำ ก็กลายเป็นโคมไฟ หรือของประดับบ้านที่สวยงามล้ำค่าไปในที่สุด
เห็นมั๊ยครับว่า คนไทยหน่ะ มีพรสวรรค์ด้านความคิดสร้างสรรค์สุด ๆ คนไทยหลายคนอาจไม่รู้ว่า เรามีศักยภาพในการสร้างสรรค์นวัตกรรมแค่ไหน ผมพูดจริง ๆ นะครับ ไม่ใช่แค่พูดให้ตัวเองดูดี คนไทยมีความคิดสร้างสรรค์กว่าคนเยอรมันเยอะ แต่ทำไมคนเยอรมันเค้าสามารถพัฒนานวัตกรรมใหม่ ๆ ออกมาได้ตลอด สิ่งที่เค้ามีแต่เราไม่มีคือกระบวนการสั่งสมภูมิปัญญาและองค์ความรู้อย่างเป็นระบบ เพื่อใช้เป็นวัตถุดิบในการต่อยอดนวัตกรรม ในขณะที่บ้านเรานั้นการสั่งสมภูมิปัญญามันไม่มีความต่อเนื่อง ขาดช่วง รัฐก็ส่งเสริมกับแบบกะปริปกะปอย คนที่เค้ามีไอเดียสร้างสรรค์ดี ๆ ก็ไม่อยากจะพัฒนาจากภูมิปัญญาท้องถิ่นเพราะมันมีต้นทุนในการค้นหาที่สูง ก็เลยไปเอาของต่างประเทศเค้ามาพัฒนาต่อยอด แล้วกลายเป็นนวัตกรรมแปลกปลอมที่เปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตเรา ทำให้เราหลงทาง
ผมคิดว่าปัจจุบันประเทศไทยเรากำลังพัฒนา ถีบตัวเองอยู่ ความสนใจของผู้คนจึงยังคงอยู่ที่แนวทางในการแก้ปัญหาปากท้อง ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน รวมไปถึงปัญหาสิ่งแวดล้อมที่ใกล้ตัวเราเข้ามาทุกขณะ เรื่องศิลปะวัฒนธรรมนี่ยังคงต้องใช้เวลาอีกสักระยะ รอให้ท้องของผู้คนเริ่มอิ่มก่อนแล้วจึงจะมองเรื่องการเสพสุนทรียรส ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเลยคือระยะเวลาที่เราต้องต่อสู้เพื่้อให้เกิดหอศิลป์กรุงเทพฯ ที่ตั้งในใจกลางย่านธุรกิจ ผมมองว่ามันเป็นการต่อสู้เพื่อให้ศิลปะเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตของคนกรุงเทพฯ และเป็นการต่อสู้กับกระแสทุนนิยมเพื่อช่วงชิงพื้นที่เล็ก ๆ ตรงสี่แยกปทุมวันไปใช้ก่อสร้างสิ่งปลูกสร้างที่ให้ผลในเชิงพาณิชย์ ผมนั่งรถเมล์ผ่านพื้นที่ ๆ เคยเป็นสวนสาธารณะเล็ก ๆ ตรงนั้นทุกวัน แรก ๆ ก็สนุกกับการจิตนาการว่าพื้นที่นั้นสมควรเป็นอะไร พอนาน ๆ เข้าก็ชักขี้เกียจคิดจนเรียนจบ ทำงาน เรียนจบอีกรอบ กลับมาเมืองไทยจึงได้เห็นหอศิลป์ตัวเป็น ๆ กับเค้าเสียทีหลังจากที่คอยส่องดูหอศิลป์จากบนท้องฟ้าผ่าน Google Earth อยู่หลายครั้ง แม้ว่าจำนวนคนที่เข้าไปเดินในหอศิลป์จะเทีี่ยบกันไม่ไ้ด้เลยกับจำนวนผู้คนที่เดินในสยามพารากอน ห้องเช่าหลายห้องในห้องศิลป์ยังร้างไร้คนจับจองพื้นที่เพื่อแสดงผลงานของตน แต่ผมก็ยังมีความสุขที่ได้เห็น คนที่ต้องการเสพย์ศิลปะ ได้มีโอกาสเสพย์ สิ่งที่เค้าต้องการ คนที่ต้องการพื้นที่แสดงผลงาน ได้มีพื้นที่ให้แสดงผลงาน
ทุกคนกำลังมองหาอะไรใหม่ ๆ จากโครงการนี้ แต่ทำไมถึงจับประเด็นด้านมรดกทางภูมิปัญญาซึ่งเป็นเรื่องเก่าทั้งนั้น
ผมว่าคำว่า "นวัตกรรม" มันก็มีทั้งสิ่งที่เป็นรูปธรรมและนามธรรม แต่เราอาจจะสบายใจ หรือมองหาแต่นวัตกรรมที่สามารถจับต้องได้มากกว่า"นวัตกรรมทางความคิด"ซึ่งเป็นเรื่องของกระบวนความคิดใหม่ ๆ เพื่อนำมาใช้ในการคิดหาแนวทางใหม่ ๆ ในการแก้ปัญหา จริง ๆ แล้วภูมิปัญญามันก็คือนวัตกรรม เพียงแต่เมื่อเวลาผ่านไปนาน ๆ เข้า คนเราก็ลืมเลือนไป และมันก็จะค่อย ๆ จางหายไป เหมือนกับซาวน์อเบ้าท์ ที่ปัจจุบันนี้กลายเป็นอะไรก็ไม่รู้ ทั้ง ๆ ที่เมื่อสิบกว่าปีก่อนใคร ๆ ก็ไขว่คว้าหามาครอบครอง
ภูมิปัญญาไทยมันก็มีทั้งในส่วนที่เป็นเรื่องของการประดิษฐ์คิดค้นที่เกิดจากทักษะของผู้คน หรือเป็นแนวทาง แนวปฏิบัติที่อาจจะจับต้องไม่ได้ แต่รับรู้ได้ เช่นขนบประเพณีต่าง ๆ การลงแขกเกี่ยวข้าว การเต้นกำรำเคียว เป็นต้น ไอเดีย"ถนนสายภูมิปัญญา" นี้เป็นนวัตกรรมทางความคิดที่พยายามเสนอแนวทางใหม่ ๆ ในการรื้อฟื้น และอนุรักษ์ภูมิปัญญาเก่า(หรือนวัตกรรมที่ถูกลืมเลือน)เพื่อให้เป็นรากฐานในการพัฒนานวัตกรรมใหม่ ๆ ที่เหมาะสมกับเมืองไทยของเรา
ผมยกตัวอย่างผลิตภัณฑ์ "ดินเผาทรงเครื่องเบญจศิริ" (ตั้งชื่อได้อลังการดีแฮะ) เป็นนวัตกรรมที่ต่อยอดมาจากเครื่องดินเผาสามโคก ของชาวมอญ อ.สามโคก จ.ปทุมธานี ผู้ที่คิดเริ่มต้นจากภูมิปัญญาโบราณของท้องถิ่น และจา่กการเห็นการทำ "โอ่งเพ้นท์สี" และ "เครื่องเบญจรงค์" แต่ปัญหาคือชาวบ้านไม่มีทักษะในด้านการเพ้นท์เครื่องเบญจรงค์ เค้าก็เลยแก้ปัญหาด้วยการไปหาซื้อผ้่าไหมจากที่อื่น ๆ มาซึ่งก็สวยไม่แพ้กัน แล้วมาห่อเครื่องปั้นดินเผา จากเครื่องปั้นดินเผาธรรมดา ๆ ที่แค่ใช้ใส่น้ำ ก็กลายเป็นโคมไฟ หรือของประดับบ้านที่สวยงามล้ำค่าไปในที่สุด
![](https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEi8DnU4PB0RV4TN7l4QpT9BXkvMp10JG0Ae7THVXnfVEYIIn3eUtWqDscxKbd3E-xBsswOtUWK0PP00NaXW0LF-DXR839s9FCYUA7VsVPMP6KY5mdf0sS0PL79A_3_Gj100NZ-jlMUI4d4/s320/PathumthaniPSO1L.jpg)
"ถนนสายภูมิปัญญา" เป็นนวัตกรรมทางความคิดหนึ่งที่ช่วยสนับสนุนกระบวนการสั่งสมภูมิปัญญาให้เกิดสิ่งที่เรียกว่า "Historic Increase in Connectivity" หรือการเชื่อมต่อกับภูมิปัญญาต่าง ๆ ที่ผ่านมา (เหมือนในกรณี โอ่งเพ้นท์สีิ+เครื่องเบญจรงค์+ผ้าไหมไทย+เครื่องดินเผาสามโคก= ดินเผาทรงเครื่องเบญจศิริ) และที่สำคัญคือ"ถนนสายภูมิปัญญา"จะกระตุ้นต่อมความคิดสร้างสรรค์ของคนไืทยผ่านประติมากรรมที่เตะตา ชวนให้หยุดคิด และป้ายข้อมูลที่เล่าเรื่องราวเชิงกระตุ้นความคิดสร้างสรรค์และชี้ช่องทางที่เจ้าของไอเดียใหม่ ๆ จะสามารถเชื่อมต่อกับนวัตกรรมในอดีต แน่นอนไม่สามารถรับรองได้ว่าจะกระตุ้นนวัตกรรมได้แค่ไหน แต่ผมเชื่อว่าคนที่เดินบนถนนสายภูมิปัญญาจะต้องมีใครคนใดคนหนึ่งที่จะสามารถคิดไอเดียใหม่ ๆ ที่จะสามารถเปลี่ยนเมืองไทยได้
ผมทำทุกวิถีทางเพื่อให้ "ถนนสายภูมิปัญญา" ได้เข้าไปอยู่ในหัวใจของกรรมการและผู้เข้าชมงาน
แรกเริ่มเดิมทีไอเดียด้านศิลปะและวัฒนธรรมเข้ารอบ 50 ไอเดียสุดท้ายเพียงแค่ 2 ไอเดียเท่านั้น แต่ท้ายที่สุดก็ได้เพิ่มมาเป็น 5 ไอเดีย และมีเพียง 1 ไอเดียเท่านั้นที่สามารถผ่านเข้ารอบ 20 ไอเดียสุดท้ายได้ ผมอยากเล่าให้ผู้อ่านของผมได้รู้ว่าผมหน่ะ พยายามสุด ๆ เพื่อเรียกร้องความสนใจและทำให้คนเห็นความสำคัญของการอนุรักษ์มรดกทางศิลปะวัฒนธรรมและภูมิปัญญาของประเทศไทย ในเมื่อไอเดียด้านนี้ยังมีผู้สนใจค่อนข้างจำกัด ผมก็ย่อมต้องใช้ความพยายามมากกว่าคนอื่นครับ
ผมไม่ได้คาดหวังมากนักที่ไอเดียนี้จะได้เข้ารอบ 20 ไอเดียสุดท้าย แต่ผมเชื่อว่าผม(น่า)จะสามารถทำให้ผู้เข้าชมงานและกรรมการ ไม่มองข้ามไอเดียด้านศิลปะและวัฒนธรรมไป ในเมื่อหอศิลป์สามารถมีพื้นที่ยืนในใจกลางกรุงเทพฯได้ ผมก็เชื่อว่าผมน่าจะหาที่ยืนให้กับมรดกทางศิลปะวัฒนธรรมและภูมิปัญญาของคนไทยได้เหมือนกัน
ในระหว่างที่รอผู้เข้าร่วมแสดงผลงานคนอื่นตอบคำถามกรรมการ ผมก็จะหาโอกา่สมายืนที่หน้าคัทเอ้าท์ของผม เพื่อรอตอบคำถามผู้ที่ผ่านเข้ามาดูและสนใจ ผมเน้นเรื่องการอยู่ประจำที่คัทเอ้าท์ของผมครับ เพราะผมคิดว่าไอเดียของผมอาจจะเข้าใจยาก หรือซับซ้อนเกินกว่าข้อความสั้น ๆ บนบอร์ดจะอธิบายให้เห็นภาพได้ และผมก็ต้องรับผิดชอบไอเดียที่ผมนำเสนอด้วย ผมโชคดีที่ผู้เข้าแสดงผลงานส่วนใหญ่ไปอยู่หน้าเวที เลยทำให้นักข่าวและช่างภาพหาใครสัมภาษณ์ไม่ได้ เลยต้องมาสัมภาษณ์ผม ๕๕๕ เลยทำให้คนเดินไปเดินมาเข้าใจว่าไอเดียนี้ต้องมีอะไรดีแน่ๆ แต่ถ้าได้อ่านรายละเอียดไอเดีย"ถนนสายภูมิปัญญา" ในหน้าแรก ผู้อ่านก็คงจะเห็นนะครับว่า ผลที่คาดว่าจะได้รับมันเยอะมากและกระจายไปในทุกจังหวัดทั่วไทย และสามารถต่อยอดไปได้อีกเยอะ
ในที่สุด "ถนนสายภูมิปัญญา" ก็ผ่านเข้ารอบสุดท้ายได้สำเร็จ เป็นหนึ่งเดียวในหมวดศิลปะและวัฒนธรรม ตอนนี้งานที่ยากสำหรับผมคือจะทำให้คนไทยใน 77 จังหวัดเข้าใจได้ยังไงว่าศิลปะวัฒนธรรมหรือมรดกทางภูมิปัญญานี้ถ้านำไปดำเนินการจริงแล้วมันจะพัฒนาชุมชนท้องถิ่นได้อย่างไร จะเกิดผลดีกับพวกเค้า และกับประเทศไทยโดยรวมได้แค่ไหน
เมื่อวานผมท้อนิดนึง เพราะไม่ค่อยมีเครือข่ายเพื่อนฝูงเยอะเหมือนชาวบ้าน facebook ผมก็มีเพื่อนเพียงแค่ 100 คน เป็นคนไทยก็ประมาณเกินครึ่งนิด ๆ หลัง ๆ นี่ก็ไม่ค่อยได้เ้ข้าไปคุยกับเพื่อน ๆ เพราะหน้าแรกของผมเต็มไปด้วยข่าวและบทความ ไม่มีข่าวของเพื่อนเลย เลยคิดว่าตอนนี้เพื่อน ๆ คงตัดหางปล่อยวัดแล้วมั๊ง แต่ท้ายที่สุดก็คงต้องขอให้พวกเค้าช่วยโหวตให้ และวันนี้ก็มานั่งเขียน blog เฉพาะกิจอันนี้สำหรับประชาสัมพันธ์ไอเดีย "ถนนสายภูมิปัญญา" โดยเฉพาะ เพื่ออธิบายสร้างความเข้าใจ ให้ผู้อ่านของผมได้เห็นว่าการฟื้นฟู, อนุรักษ์และปกป้องภูมิปัญญาของชาติ เป็นยุทธศาสตร์หนึ่งของประเทศ ประเทศไทยของเราไม่สามารถพัฒนาก้าวหน้าไปได้โดยที่เราลืมรากเหง้าของเราเอง ผมเชื่อว่าการเรียนรู้ และพัฒนาต่อยอดนวัตกรรมจากภูมิปัญญาของคนไทยเป็นการพัฒนาที่เหมาะสมและยั่งยืนสำหรับประเทศไทยของเราครับ
ผมทำทุกวิถีทางเพื่อให้ "ถนนสายภูมิปัญญา" ได้เข้าไปอยู่ในหัวใจของกรรมการและผู้เข้าชมงาน
แรกเริ่มเดิมทีไอเดียด้านศิลปะและวัฒนธรรมเข้ารอบ 50 ไอเดียสุดท้ายเพียงแค่ 2 ไอเดียเท่านั้น แต่ท้ายที่สุดก็ได้เพิ่มมาเป็น 5 ไอเดีย และมีเพียง 1 ไอเดียเท่านั้นที่สามารถผ่านเข้ารอบ 20 ไอเดียสุดท้ายได้ ผมอยากเล่าให้ผู้อ่านของผมได้รู้ว่าผมหน่ะ พยายามสุด ๆ เพื่อเรียกร้องความสนใจและทำให้คนเห็นความสำคัญของการอนุรักษ์มรดกทางศิลปะวัฒนธรรมและภูมิปัญญาของประเทศไทย ในเมื่อไอเดียด้านนี้ยังมีผู้สนใจค่อนข้างจำกัด ผมก็ย่อมต้องใช้ความพยายามมากกว่าคนอื่นครับ
แอร์ที่หอศิลป์เย็นมากจนเป็นหวัด ต้องทานยา แต่ก่อนนอนก็ต้องอ่านประเด็นที่จะ present ในวันรุ่งขึ้นครับ |
ตื่นเช้ามานั่งปลูกต้นไม้ครับ |
วิธีที่ผมใช้เรียกร้องความสนใจจากผู้เข้าชมงานและกรรมการคือ หาอะไรที่มันแปลก และเตะตามาตั้งให้เห็นเด่น เป็นสง่า ผมเลยทำโมเดลถนนสายภูมิปัญญาขึ้นมา และประดับประดาด้วยอะไรก็ตามที่ผมจะสามารถหาได้ โดยมีวัตถุประสงค์ให้ผู้เข้าชมงานและกรรมการได้เห็นภาพได้ง่าย และเพื่อดึงคนให้หยุดดูไอเดียของผม (๕๕๕ หัวเราะเป็นภาษาไทย) ผมจะคอยแอบอยู่ในมุมที่มืดที่สุดของพื้นที่แสดงผลงาน เพื่อไม่ให้ผู้เข้าชมรู้สึกกลัวที่จะเข้ามาชม เมื่อแน่ใจว่าปลาเริ่มกินเหยื่อ เอ๊ย! เค้าเริ่มสนใจไอเดียของผมแล้ว ผมจึงเข้าไปขอนุญาตแนะนำไอเดีย หลัง ๆ นี่ผมเริ่มจับผู้เข้าชมงาน ช่างภาพ ผู้ส่งไอเดียเข้าประกวดด้วยกันเอง หรือใครก็ตามที่เดินผ่านเข้ามา มาฟังไอเดีย"ถนนสายภูมิปัญญา"
ไม่ทันได้อาบน้ำก็ต้องรีบมาเตรียมบูธ |
พร้อมจะช่วงชิงพื้นที่สื่อแล้วครับ |
![]() |
อธิบายแบบเน้นฮาครับ รถเล็ก ๆ นั้นเตรียมมาเพิ่ม 4 คัน เผลอแป๊บเดียวแจกผู้ร่วมชมงานหมดเลย |
![]() |
ให้สัมภาษณ์สื่อเน้นเก๊กนิดนึง อันนี้จาก ทีวีไทย (TPBS) ชอบครับ เค้าถามคำถามให้เตรียมตัวก่อนถามออกรายการจริง |
![]() |
นั่งรอเชือดครับ |
![]() |
ในที่สุดก็ผ่านเข้ารอบ 20 ไอเดียสุดท้ายครับ |
![]() |
เจ้าของไอเดียทั้ง 20 คนนำเสนอไอเดียผ่านรายการ "เชื่อมั่นประเทศไทย กับนายกอภิสิทธิ์" |
![](https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEgavNaQ1z3sNPvkOcRJjaGowXv8kLM1GILjjA9UoP3UdxgFJC6mYw18YPUmYsIH-QYYB8ITaUr5lW8V75IBc5aZsR0u-R9klkG8369JYZQyFRjXmJ9LNkV4i7RkX_Bq6S2fycpRC7vK02k/s320/58180_434474718868_711693868_5205743_7021382_n.jpg)
ผมก็เลยถือโอกาสให้ท่านนายกฯ เซ็นต์ลงในหนังสือ "ร้อยฝันวันฟ้าใหม่"
![]() |
นี่ครับหนังสือเล่มโปรดของผมเล่มหนึ่ง จาก 100 ความฝัน มาเป็นปณิธานทางการเมืองของนายกอภิสิทธิ |
ความเห็นของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ต่อไอเดีย "ถนนสายภูมิปัญญา"
รายการ "เชื่อมั่นประเทศไทย กับนายกอภิสิทธิ์" (2 ตุลาคม 2553)
ข่าวที่เกี่ยวข้อง:
ต้องขอขอบคุณผู้สื่อข่าวไทยโพสต์ท่านนี้ครับ ระหว่างที่คุยกัน เธอก็เสนอแนะแนวความคิดดี ๆ ให้ และจากข่าวที่เธอเขียน ผมก็ได้แนวคิดดี ๆ ต่อยอดอีก
ศูนย์ข้อมูลข่าวสารปฏิรูปประเทศไทย
สำนักข่าว สถาบันอิศรา
ขอบคุณครับ:
คุณเฟื่องฟ้า เป็นศิริ พี่สาวผมเจ้าของไอเดีย"นั่งแท็กซี่สบายใจ...IT ช่วยได้"ที่แนะนำโครงการ Ideas for Thailand ให้
ผู้เข้าร่วมงานทุกคนและสื่อมวลชน ที่แวะมาพูดคุยแลกเปลี่ยนความเห็นต่อไอเดีย"ถนนสายภูมิปัญญา"
คณะกรรมการทุกท่านที่เปิดรับ"ถนนสายภูมิปัญญา"ไว้ในอ้อมอก
น้องฉัตร ที่ช่วยนำเสนอไอเดีย คุณเสาวนีย์และเจ้าหน้าที่ change fusion ทุกคนที่อำนวยความสะดวกและจัดโครงการนี้ขึ้นมา
น้องชายคนหนึ่งที่ผมไม่ได้ถามชื่อ ที่แนะนำหนังสือ "Three Cups of Tea" หนังสือน่าอ่านมาก เดือนหน้าผมจะไปหาดูที่งานสัปดาห์หนังสือฯ นะครับ