ปัญหาและที่มาของแนวคิด:
ทุกวันนี้คนไทยหลายคนคิดว่าประเทศไทยเป็นประเทศที่ขาดความคิดสร้างสรรค์ สินค้ายี่ห้อไทยก็ไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควรในระดับนานาชาติ เหมือน BMW, Adidas หรือ Apple ทำให้คนไทยส่วนใหญ่มีความภูมิใจในความเป็นไืทยในระดับต่ำ และต้องไปรับและลอกเลียนแบบวัฒนธรรมจากต่างประเทศ ที่เป็นแบบนี้เพราะทุกวันนี้เราไม่ได้เน้นเรื่องการพัฒนาทางความคิดสร้างสรรค์หรือนวัตกรรมขึ้นมาเป็นของเราเอง ทั้งที่จริง ๆ แล้วคนไทยเป็นชนชาติที่มีพรสวรรค์ด้านความคิดสร้างสรรค์ รู้จักนำวิกฤติหรือปัญหามาเป็นแรงผลักดันให้เกิดความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรมเพื่อแก้ปัญหาต่าง ๆ ได้อย่างดีเยี่ยม โดยเฉพาะความคิดสร้างสรรค์ที่เกิดจากการต่อยอดจากความคิืดหรือนวัตกรรมที่มีอยู่
ปัญหาที่พบในปัจจุบันก็คือภูมิปัญญาดั้งเดิมของไทยไม่ได้รับการพัฒนาสานต่อและกำลังค่อย ๆ สูญหาย ไปเรื่อย ๆ นอกจากนี้สิ่งที่เรารับเอาหรือหยิบยืมมาใช้เป็นฐานความคิดเพื่อต่อยอดนั้น หลาย ๆ สิ่งไม่ได้เกิดขึ้นจากภายในสังคมหรือชุมชน แต่มาจากภายนอก จากต่างประเทศ ทำให้เกิดการพัฒนาที่ไม่สอดคล้องกับสังคมและชุมชนท้องถิ่น (Alienation) ยกตัวอย่างเช่นบ้านทรงไทย ที่เน้นความโปร่งเหมาะสมกับภูมิอากาศร้อนชื้น และบรรพบุรุษก็ได้แก้ปัญหาเรื่องยุงด้วยการปลูกตะไคร้หอมไว้รอบบ้านและเลี้ยงปลาในบ่อเพื่อให้กินลูกน้ำ รวมทั้งปลูกต้นไม้รอบบ้านให้ร่มเย็นให้กลิ่นหอม แต่ปัจจุบันเราจะเห็นบ้านทรงฝรั่งได้ทั่วไป ซึ่งปัญหาที่ตามมาคือต้องเสียเงินซื้อเครื่องปรับอากาศ ต้องปิดหน้าต่าง ต้องทาสีที่มีสารตะกั่ว นอกจากเป็นอันตรายต่อตนเองและสิ่งแวดล้อมแล้ว ยังก่อให้เกิดภาวะโลกร้อนและสิ้นเปลืองเงินและพลังงานโดยใช่เหตุ
นอกจากนี้ในยุคโลกาภิวัฒน์และการแข่งขันทางธุรกิจที่ทวีความรุนแรงขึ้นทุกวัน นักธุรกิจจากทั่วโลกกำลังมองหาอะไรก็ตามที่แปลกใหม่และสามารถขายได้ มรดกทางภูมิปัญญาที่บรรพบุรุษของคนไทยสู้อุตส่าห์คิดค้นและพัฒนาขึ้นเพื่อลูกหลานคนไทยจึงกำลังตกอยู่ในอันตราย จากชาวต่างชาติที่จารกรรมภูมิปัญญาเหล่านี้เพื่อนำไปจดสิทธิบัตรเป็นของตนเอง
นอกจากนี้ในยุคโลกาภิวัฒน์และการแข่งขันทางธุรกิจที่ทวีความรุนแรงขึ้นทุกวัน นักธุรกิจจากทั่วโลกกำลังมองหาอะไรก็ตามที่แปลกใหม่และสามารถขายได้ มรดกทางภูมิปัญญาที่บรรพบุรุษของคนไทยสู้อุตส่าห์คิดค้นและพัฒนาขึ้นเพื่อลูกหลานคนไทยจึงกำลังตกอยู่ในอันตราย จากชาวต่างชาติที่จารกรรมภูมิปัญญาเหล่านี้เพื่อนำไปจดสิทธิบัตรเป็นของตนเอง
แนวความคิด"ถนนสายภูมิปัญญา" นี้จะเป็นการนำมรดกทางภูมิปัญญาของท้องถิ่นเข้าหาประชาชน และตั้งวางในจุดที่ผู้คนทั่วไปสามารถเข้าถึงได้โดยง่าย โดยมรดกทางภูมิปัญญาที่เป็นเอกลักษณ์ของท้องถิ่นจะได้รับการคัดเลือกให้มาตั้งบน "ถนนภูมิปัญญา" ของจังหวัดที่แหล่งกำเนิดภูมิปัญญานั้นตั้งอยู่ พร้อมกับบอกเล่าเรื่องราวของภูมิปัญญาแต่ละชิ้น ผ่่านชิ้นงานประติมากรรมที่สวยงาม เชิงสัญลักษณ์หรือนามธรรม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้คนไทยทุกคนเกิดความภูมิใจ เข้าใจและเห็นความสำคัญของภูมิปัญญาท้องถิ่น อันจะทำให้เราร่วมกันดูแลและปกป้อง รวมถึงสามารถเรียนรู้และต่อยอดพัฒนานวัตกรรมที่เหมาะสมกับท้องถิ่น
วิธีแก้ไขดำเนินการ:
1) ให้แต่ละจังหวัดรวบรวมภูมิปัญญา นวัตกรรม หรือความคิดสร้างสรรค์ทั้งในด้านทักษะ และแนวปฏิบัติที่คิดขึ้นมาเช่นประเพณีต่างๆ ที่ได้รับการพัฒนาโดยผู้คนในท้องถิ่นของแต่ละจังหวัด ที่เด่น ๆ และเป็นที่รู้จักได้รับการยอมรับ เช่น กำแพงเพชร = กล้วยไข่, กระยาสารท, ประเพณีนบพระ เล่นเพลง ฯลฯ ทั้งนี้รวมถึงภูมิปัญญาที่เคยมีแล้วเลือนหายไป แต่สามารถพลิกฟื้นขึ้นมาใหม่ได้
2) ภายในสามเดือนให้ทุกจังหวัดจัดทำรายชื่อภูมิปัญญาและรายละเอียดเพื่อนำเสนอต่อคณะกรรมการภูมิปัญญาที่ประกอบด้วยนักวิชาการ ผู้ทรงคุณวุฒิทางภูมิปัญญาแขนงต่างๆ ทำการคัดเลือก ภูมิปัญญาที่ผ่านการคัดเลือกจะได้รับการจัดสร้างประติมากรรมโดยเปิดโอกาสให้นักเรียน นิสิต นักศึกษา และบุคคลทั่วไป (ที่ไม่ใช่ศิลปินมืออาชีพ) ได้ส่งผลงานการออกแบบประติมากรรมเข้าแข่งขันในจังหวัดที่ตัวเองมีถิ่นฐาน โดยคณะกรรมการจากกรมศิลปากรหรือศิลปินด้านทัศนศิลป์ ประเภทประติมากรรมร่วมเป็นกรรมการคัดเลือก โดยงานประติมากรรมที่ผ่านการคัดเลือกจะต้องสวย เตะตา จะออกแนวสัญลักษณ์หรือนามธรรมก็ได้ แต่ต้องมีคุณค่าเชิงศิลป์ มีเอกลักษณ์และสะท้อนภูมิปัญญาท้องถิ่นได้อย่างดี
3) นำประติมากรรมภูมิปัญญาที่ผ่านการคัดเลือก วางตลอดริมสองข้างทางของถนนภูมิปัญญา ไม่จำเป็นว่าต้องเป็นถนนตัดใหม่ สามารถพัฒนาจากถนนที่มีอยู่เดิม แต่ต้องเป็นถนนที่คนทั่วไปสามารถเข้าถึงได้โดยง่ายทั้งโดยทางรถและโดยการเดินเท้า โดยอาจจะเป็นถนนที่เชื่อมต่อกับถนนสายหลัก ที่ชาวบ้านใช้กันอยู่ พร้อมกันนี้ต้องพัฒนาเส้นทางเดินเท้าและจัดทำป้ายบอกเล่าเรื่องราวของภูมิปัญญาชิ้นนั้น(ภาษาไทยและอังกฤษ) ว่ามีประวัติความเป็นมา, วิธีการผลิตคร่าว ๆ และพัฒนาขึ้นมาได้อย่างไร ผ่านปัญหาและอุปสรรคอะไรบ้าง ทำไมจึงเหมาะสมกับท้องถิ่นนั้น ๆ และผู้ที่สนใจที่จะต่อยอดหรือนักท่องเที่ยวที่อยากเยี่ยมชม จะสามารถไปดูได้ที่ไหน โดยเน้นไปดูชุมชนที่เป็นแหล่งกำเนิดของภูมิปัญญาจริง ๆ ไม่ใช่ฉากที่จัดขึ้นมา(ดูรูปข้างล่าง) เพราะโครงการนี้เน้นที่การศึกษาเรียนรู้มากกว่าการท่องเที่ยวซึ่งจะเป็นผลพลอยได้ และตั้งชื่อถนนให้เหมือนกันว่า "ถนนภูมิปัญญา จังหวัด ..."
4) จังหวัดต่าง ๆ ร่วมกับกรมทรัพย์สินทางปัญญา นำรายชื่อภูมิปัญญาท้องถิ่น ทั้งที่ชนะการประกวดเพื่อจัดสร้างประติมากรรม และที่ไม่ผ่านการคัดเลือก นำไปพิจารณาคัดกรองว่าภูมิปัญญาท้องถิ่นใดที่เป็นของท้องถิ่นจริง ๆ เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว เพื่อทำการแนะนำ สนับสนุนให้ชุมชนเจ้าของภูมิปัญญาเหล่านั้นจดสิทธิบัตรภูมิปัญญา หรือสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ เพื่อปกป้องมรดกทางภูมิปัญญาของประเทศ
5) ประสานงานกับกระทรวงวัฒนธรรมและกระทรวงศึกษาธิการเพื่อทำการบรรจุภูมิปัญญาท้องถิ่นลงในแบบเรียนหรือหลักสูตร อาจจะมีการพานักเรียนไปทัศนศึกษายังถนนภูมิปัญญาของจังหวัดที่โรงเรียนนั้นตั้งอยู่ หรือจังหวัดใกล้เคียง หรืออาจจะพานักเรียนเข้าไปศึกษายังชุมชนที่เป็นแหล่งกำเนิดของภูมิปัญญาเลยก็ได้ นอกจากนี้ยังต้องประสานงานกับการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย บรรจุถนนสายภูมิปัญญาเข้าเป็นแหล่งท่องเที่ยวแห่งใหม่ของแต่ละจังหวัด และทำการประชาสัมพันธ์ให้นักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศทราบถึงแหล่งท่องเที่ยวและส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงภูมิปัญญา (Knowledge Tourism) ในประเทศไทย
6) จังหวัดต่าง ๆ ร่วมมือกับชุมชนท้องถิ่นให้เข้ามามีส่วนร่วมและมีบทบาทในการดูแลและอนุรักษ์ถนนสายภูมิปัญญา เนื่องจากเป็นความภาคภูมิใจของท้องถิ่นนั้น ๆ เอง โดยอาจกำหนดเกณฑ์การคัดเลือกว่าแต่ละท้องถิ่นจะต้องจัดทำแผนในการดูแล และการประชาสัมพันธ์ เช่นการจัดทำแผนจัดการการท่องเที่ยวที่ดี จัดโปรแกรมนำเที่ยวแหล่งกำเนิดภูมิปัญญา และเสนอแนวทางประชาสัมพันธ์ภูมิปัญญาของตน เช่นการเข้าร่วมจัดงานถนนคนเดิน การออกร้านประจำปีของจังหวัด โดยแหล่งกำเนิดของภูมิปัญญาไหนก็ออกร้าน ในโซนที่ประติมากรรมนั้นตั้งอยู่ เป็นการอำนวยความสะดวกให้นักท่องเที่ยวและเกิดการแข่งขันพัฒนาสินค้าระหว่างชุมชนที่มีภูมิปัญญาร่วมกัน ในกรณีของจังหวัดกำแพงเพชรก็จะเกิดโซนกล้วยไข่ โซนกระยาสารท โซนแสดงประเพณีนบพระ เล่นเพลง ในส่วนของกรุงเทพมหานครก็อาจเกิดโซนนั่งตุ๊ก ๆ นำเที่ยว โซนนวดแผนโบราณตำรับวัดโพธิ์ เป็นต้น
7)บนตัวประติมากรรมจะมีสัญลักษณ์นูนต่ำขนาดเท่าเหรียญติดไว้ที่ตัวประติมากรรม แล้วทำเป็นพ็อคเก็ตบุ๊คลายแทงแจกนักท่องเที่ยว ให้เค้านำดินสอไปขูดรูปนูนต่ำนั้นลงบนสมุด นักท่องเที่ยวก็จะได้เพลิดเพลินจากการสะสมรอยขูดตราสัญลักษณ์นั้นเก็บไว้ เป็นความภูมิใจ ใครสะสมได้ครบ 77 จังหวัดก่อนจะได้รับการแต่งตั้งเป็นทูตภูมิปัญญาแห่งประเทศไทย (Wisdom Ambassador) ใครสะสมได้ครบทุกจังหวัดภายในภาคเหนือ ก็เป็นทูตภูมิปัญญาภาคเหนือ เป็นต้น
แนวทางในการดำเนินงาน
2) ภายในสามเดือนให้ทุกจังหวัดจัดทำรายชื่อภูมิปัญญาและรายละเอียดเพื่อนำเสนอต่อคณะกรรมการภูมิปัญญาที่ประกอบด้วยนักวิชาการ ผู้ทรงคุณวุฒิทางภูมิปัญญาแขนงต่างๆ ทำการคัดเลือก ภูมิปัญญาที่ผ่านการคัดเลือกจะได้รับการจัดสร้างประติมากรรมโดยเปิดโอกาสให้นักเรียน นิสิต นักศึกษา และบุคคลทั่วไป (ที่ไม่ใช่ศิลปินมืออาชีพ) ได้ส่งผลงานการออกแบบประติมากรรมเข้าแข่งขันในจังหวัดที่ตัวเองมีถิ่นฐาน โดยคณะกรรมการจากกรมศิลปากรหรือศิลปินด้านทัศนศิลป์ ประเภทประติมากรรมร่วมเป็นกรรมการคัดเลือก โดยงานประติมากรรมที่ผ่านการคัดเลือกจะต้องสวย เตะตา จะออกแนวสัญลักษณ์หรือนามธรรมก็ได้ แต่ต้องมีคุณค่าเชิงศิลป์ มีเอกลักษณ์และสะท้อนภูมิปัญญาท้องถิ่นได้อย่างดี
"แม่ลูก" โดย เข็มรัตน์ กองสุข (ตัวอย่าง) |
ตัวอย่างป้ายให้ข้อมูลภูมิปัญญาพร้อมแผนที่ ๆ ที่จะนำไปสู่แหล่งกำเนิดของภูมิปัญญา
4) จังหวัดต่าง ๆ ร่วมกับกรมทรัพย์สินทางปัญญา นำรายชื่อภูมิปัญญาท้องถิ่น ทั้งที่ชนะการประกวดเพื่อจัดสร้างประติมากรรม และที่ไม่ผ่านการคัดเลือก นำไปพิจารณาคัดกรองว่าภูมิปัญญาท้องถิ่นใดที่เป็นของท้องถิ่นจริง ๆ เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว เพื่อทำการแนะนำ สนับสนุนให้ชุมชนเจ้าของภูมิปัญญาเหล่านั้นจดสิทธิบัตรภูมิปัญญา หรือสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ เพื่อปกป้องมรดกทางภูมิปัญญาของประเทศ
บาร์โค้ดสองมิติ (QR Code) ถูกนำมาใช้โดยเมื่อใช้โทรศัพท์มือถือถ่ายบาร์โค้ด และทำการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตแล้วแผนที่ที่จะนำท่า่นไปยังแหล่งกำเนิดภูมิปัญญาจะปรากฏขึ้นบนหน้าจอโทรศัพท์ทันที |
6) จังหวัดต่าง ๆ ร่วมมือกับชุมชนท้องถิ่นให้เข้ามามีส่วนร่วมและมีบทบาทในการดูแลและอนุรักษ์ถนนสายภูมิปัญญา เนื่องจากเป็นความภาคภูมิใจของท้องถิ่นนั้น ๆ เอง โดยอาจกำหนดเกณฑ์การคัดเลือกว่าแต่ละท้องถิ่นจะต้องจัดทำแผนในการดูแล และการประชาสัมพันธ์ เช่นการจัดทำแผนจัดการการท่องเที่ยวที่ดี จัดโปรแกรมนำเที่ยวแหล่งกำเนิดภูมิปัญญา และเสนอแนวทางประชาสัมพันธ์ภูมิปัญญาของตน เช่นการเข้าร่วมจัดงานถนนคนเดิน การออกร้านประจำปีของจังหวัด โดยแหล่งกำเนิดของภูมิปัญญาไหนก็ออกร้าน ในโซนที่ประติมากรรมนั้นตั้งอยู่ เป็นการอำนวยความสะดวกให้นักท่องเที่ยวและเกิดการแข่งขันพัฒนาสินค้าระหว่างชุมชนที่มีภูมิปัญญาร่วมกัน ในกรณีของจังหวัดกำแพงเพชรก็จะเกิดโซนกล้วยไข่ โซนกระยาสารท โซนแสดงประเพณีนบพระ เล่นเพลง ในส่วนของกรุงเทพมหานครก็อาจเกิดโซนนั่งตุ๊ก ๆ นำเที่ยว โซนนวดแผนโบราณตำรับวัดโพธิ์ เป็นต้น
7)บนตัวประติมากรรมจะมีสัญลักษณ์นูนต่ำขนาดเท่าเหรียญติดไว้ที่ตัวประติมากรรม แล้วทำเป็นพ็อคเก็ตบุ๊คลายแทงแจกนักท่องเที่ยว ให้เค้านำดินสอไปขูดรูปนูนต่ำนั้นลงบนสมุด นักท่องเที่ยวก็จะได้เพลิดเพลินจากการสะสมรอยขูดตราสัญลักษณ์นั้นเก็บไว้ เป็นความภูมิใจ ใครสะสมได้ครบ 77 จังหวัดก่อนจะได้รับการแต่งตั้งเป็นทูตภูมิปัญญาแห่งประเทศไทย (Wisdom Ambassador) ใครสะสมได้ครบทุกจังหวัดภายในภาคเหนือ ก็เป็นทูตภูมิปัญญาภาคเหนือ เป็นต้น
8)ในแต่ละปีให้มีการประกวดภูมิปัญญาและนวัตกรรมประจำจังหวัด เราจะได้ความคิดสร้างสรรค์หรือภูมิปัญญาใหม่ชนะเลิศ ทั้งหมด 77 ชิ้น (จาก 77 จังหวัด) เพื่อนำมาทำการประชาสัมพันธ์ให้คนไทยทุกคนและชาวโลกได้รับรู้ว่ามีความคิดดี ๆ หลายอย่าง เกิดขึ้นที่ประเทศไทยทุกปี และในทุก 4-5 ปีจะมีการประกวดครั้งใหญ่ในระหว่างภูมิปัญญาหรือนวัตกรรมที่ชนะเลิศในแต่ละปี เพื่อจัดสร้างประติมากรรมภูมิ ปัญญา ที่ต้องกำหนดให้จัดสร้างประติมากรรมทุก 4-5 ปี เพราะต้องการให้มั่นใจว่าภูมิปัญญาหรือนวัตกรรมที่ชนะเลิศในแต่ละปีนั้นเป็นที่ยอมรับ หรือเหมาะสมกับท้องถิ่นนั้น ๆ
ผลที่คาดว่าจะได้รับ:
ความเป็นไปได้ของโครงการ:
หมายเหตุ/อื่นๆ:
ปัจจุบันกระทรวงวัฒนธรรมได้จัดทำฐานข้อมูลของแต่ละจังหวัด รวมทั้งข้อมูลมรดกทางศิลปะวัฒนธรรมและภูมิปัญญาของจังหวัดต่าง ๆ ไว้แล้ว นอกจากนี้จังหวัดต่าง ๆ ได้จัดการประกวดภูมิปัญญาในแต่ละท้องถิ่นอยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็นผ่านโครงการ OTOP งานประจำปีของจังหวัด แต่จะเป็นไปเพื่อให้ได้ตรารับรองเพื่อประโยชน์ด้านการตลาดเป็นหลัก โครงการถนนสายภูมิปัญญานี้จะเน้นการพลิกฟื้น ส่งเสริมและจัดการภูมิปัญญาท้องถิ่นอย่างครบวงจร โดยจะทำการต่อยอดจากแนวทางที่ได้กระทำอยู่ และเพิ่มแนวทางใหม่ที่เน้นการแก้ไขปัญหาในระดับมูลฐาน ให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืนโดยเน้นการมีส่วนร่วมของชุมชนท้องถิ่น ให้สามารถยืนได้ด้วยตัวเองและลดการพึ่งความช่วยเหลือจากส่วนกลางลงในที่สุด
หมายเหตุ/อื่นๆ:
การวัดผลระยะั้สั้้น : รายชื่อภูมิปัญญาและรายละเอียดของจังหวัด
การวัดผลระยะยาว: จำนวนผู้เยี่ยมเยือนแหล่งกำเินิดแห่งภูมิปัญญา และจำนวนนักท่องเที่ยวที่เพิ่มขึ้นในแต่ละจังหวัด
การวัดผลระยะยาว: จำนวนผู้เยี่ยมเยือนแหล่งกำเินิดแห่งภูมิปัญญา และจำนวนนักท่องเที่ยวที่เพิ่มขึ้นในแต่ละจังหวัด
- ถนนภูมิปัญญาของจังหวัีดควรเป็นถนนที่สวย มีต้นไม้ร่มครึ้มเหมาะแก่การเดิน มีความยาวพอประมาณ (ระยะห่างระหว่างประติมากรรมภูมิปัญญาไม่ควรจะเกิน 300 เมตร)